วัตถุประสงค์หลักของการเลี้ยงไก่พันธุ์ คือการผลิตสัตว์ปีกพันธุ์ดีจำหน่ายสมาชิกเกษตรกร ดังนั้น จึงจำเป็นจะต้อง
เอาใจใส่ในเรื่องของการฟักไข่อย่างใกล้ชิด เพราะว่าจุดนี้เป็นจุดสุดท้ายที่เราจะนำเอาผลงานออกเผยแพร่เกษตรกรและ
ประชาชนทั่วไป
ในการฟักไข่จะให้ได้ผลนั้นมีปัจจัยที่จะต้องนำมาพิจารณาร่วมกันอยู่หลายปัจจัยด้วยกัน การประเมินผลของการฟักไข
่ หรือประสิทธิภาพของการฟักไข่จะต้องพิจารณาสิ่งต่างๆ ต่อไปนี้ประกอบคือ
1. อายุของพ่อและแม่พันธุ์ |
|
2. อาหารที่ใช้เลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ |
|
3. การเก็บและคัดไข่พันธุ์ |
|
4. ตู้ฟักและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง |
|
5. วิธีจัดการฟักไข่ที่เหมาะสม |
|
1. อายุของพ่อแม่ไก่พันธุ์ |
|
พ่อแม่ที่มีอายุมากจะทำให้อัตราการผสมติดและการฟักออกต่ำกว่าไก่ที่มีอายุน้อย อัตราการผสมติดและการฟักออกจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นับแต่ไข่ไก่ฟองแรกไปสูงสุดเมื่อไก่ไข่ไปได้ 14-16 สัปดาห์ จากนั้นจะค่อยๆ ลดลง ในทางปฏิบัติไข่ไก่ระยะ 1-3 สัปดาห์ ไปแล้วเช่นกัน ไก่ที่ไข่ครบปีแล้วจะไม่เก็บไข่เข้าฟัก เพราะอัตราการผสมติดจะฟักออกต่ำ ดังนั้นจะเก็บเฉพาะช่วงสัปดาห์ที่ 4 ถึงสัปดาห์ที่ 52 |
2. อาหารที่ใช้เลี้ยงไก่พันธุ์ |
|
อาหาร ไก่พันธุ์จะแตกต่างกันกับอาหารไก่ไข่ที่ผลิตไข่เพื่อบริโภค จะต่างกันในส่วนของไวตามินที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตและากรพัฒนาของตัว อ่อนในไข่ฟัก เช่น ไวตามินบี 12, บี 2 และไวตามินอี ซึ่งถ้าหากไวตามินเหล่านี้ไม่พอกับความต้องการของร่างกายและการเจริญเติบโต ของตัวอ่อนแล้ว จะมีผลกระทบต่อการผสมติด เช่น ขาดไวตามิน จะทำให้การผสมติดและตัวอ่อนตายในระยะอายุ 18 วัน มากกว่าปกติ ถ้าหากขาดไวตามินบี 1 จะทำให้ตัวอ่อนตายในระยะ 7-10 วัน มาก โดยเฉพาะขาดไวตามินบี 2 หรือที่เรียกว่าไรโบฟลาวิน แล้วลูกไก่จะตายระยะสุดท้ายมากคือตายโคมมาก ตัวอ่อนจะพัฒนาจนสมบูรณ์ทุกอย่าง ไข่แดงดูดซึมเข้าท้องทุกตัว และมีขนขึ้นเต็มตัวแต่ไม่สามารถเจาะเปลือกไข่ออกได้ ดังนั้น ในการพิจารณาหาเหตุผลว่าทำไมการฟักไข่จึงให้ผลต่ำกว่ามาตรฐานจึงใคร่ขอให้ คำนึงถึงอาหารที่ใช้เลี้ยงแม่พันธุ์ด้วย การให้อาหารไก่ไข่ในการผลิตไข่บริโภคมาเลี้ยงไก่แม่พันธู์แล้วจะทำให้การฟัก ออกต่ำจึงจำเป็นที่จะต้องเพิ่มไวตามิน เอ, ดี, อี และบีให้มากขึ้น และอาหารจะต้องใหม่สดอยู่เสมอ เพราะอาหารเก่าเก็บไว้นานไวตามินจะเสื่อมสลาย ทำให้ไก่ขาดไวตามินที่เกี่ยวข้องกับการผสมติดและฟักออก สำหรับอาหารไก่พ่อพันธุ์จะแตกต่างกับอาหารแม่พันธุ์ตรงที่มีธาตุแคลเซี่ยม และฟอสฟอรัสที่ต่ำกว่า |
3. การเก็บและคัดไข่พันธุ์ |
|
การ ฟักไข่โดยปกติจะฟักด้วยเครื่องฟักไข่ทันสมัยที่มีขนาดบรรจะได้ตั้งแต่ 100-100,000 ฟอง การฟักจะแบ่งออกเป็นรุ่นๆ โดยรวบรวมไข่ให้ได้มากๆ จึงนำเข้าตู้ฟักครั้งหนึ่งในทางปฏิบัติเราจะรวบรามเข้าตู้ฟักทุกๆ 3-7 วัน โดยากรเก็บไข่ไว้ในห้องเก็บไข่ที่ปรับอากาศที่มีอุณหภูมิ 65 องศา F(18.3 องศา C) ความชื้นสัมพัทธ์ 75-80% หรือเท่ากับอุณหภูมิตุ้มเปียก 55-58 องศา F ก่อนที่จะนำไข่เข้าเก็บในห้องเย็นควรจะคัดไข่ที่ไม่ได้ขนาดออกไป ควรเก็บเฉพาะไข่ขนาด 50-56 กรัม/ฟอง ใหญ่หรือเล็กกว่านี้คัดออกพร้อมนี้ได้คัดไข่บุบ ร้าว ผิวเปลือกบาง ขรุขระ และรูปร่างผิดปกติออก หลังจากคัดไข่แล้วจะต้องรมควันฆ่าเชื้อโรคที่ติดมากับเปลือกไข่ก่อนนำเข้า เก็บในนำเข้าเก็บในห้องเย็นทุกครั้ง การรมควันควรทำให้ตู้ไม้ปิดฝาสนิทที่จัดสร้างไว้เป็นเพิเศษตามความเหมาะสม กับปริมาณไข่เป็นตู้ไม้ที่มีฝาปิด-เปิดได้ ภายในตู้โล่งเป็นที่สำหรับวางถาดไข่ที่วางเรียงซ้อนกันได้ หรือแบ่งเป็นชั้นๆ แต่ต้องเจาะรูให้ควันผ่านได้ การรมควันให้ใช้ด่างทับทิม จำนวน 17 กรัม ใส่ลงบนถ้วยแก้วหรือถ้วยกระเบื้อง (ห้ามใช้ภาชนะที่เป็นโลหะ) แล้วเติมด้วยยาฟอร์มาลีน 40% จำนวน 30 ซีซี. ลงไปในถ้วย ชั่วครู่จะมีควันเกิดขึ้นและรีบปิดฝาตู้ทิ้งไว้ 20 นาที แล้วจึงเปิดฝาไว้อีกนาน 20-30 นาที จึงนำไปเข้าห้องเก็บไข่ ส่วนผสมของด่างทับทิม และฟอร์มาลีน ดังกล่าวใช้สำหรับรมควันตู้ขนาด 100 ลูกบาศก์ฟุต ถ้าหากท่านมีตู้รมควันเล็กกว่านี้ให้ลดน้ำยาและด่างทั้บทิมลงตามส่วน การเก็บไข่ไว้ในห้องเย็นควรจะเรียงไข่ไว้บนถาดใส่ไข่ที่เป็นพลาสติกที่ สามารถซ้อนกันได้สูงเป็นตั้งๆ ได้ เพื่อป้องกันลมในห้องเย็นไม่ให้ผ่านไข่มากเกินไป และสะดวกต่อการกลับไข่ โดยการใช้มือเขย่าถาดไข่ทั้งตั้งให้เคลื่อนไหวเบาๆ ทำทุกๆวันๆ ละ 1 ครั้ง จะช่วยลดอัตราการตายของตัวอ่อน ระยะ 1-7 วันได้มาก ก่อนที่จะนำไข่เข้าฟัก จะต้องนำไข่ออกผึ่งไว้นในอุณหภูมิห้องอย่างน้อย 12 ชั่วโมง หรือผึ่งอากาศนอกห้องเย็นไว้คืนหนึ่งก่อนจะนำเข้าตู้ฟัก |
4. ตู้ฟักไข่และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง |
|
ตู้ ฟักไข่ไก่ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันเป็นตู้ฟักไข่ไฟฟ้า มีขนาดบรรจุแตกต่างกันตั้งแต่ 100 ฟอง จนถึง 100,000 ฟอง แต่โดยหลักการและวิธีการแล้วทุกตู้จะต้องมีอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ต่างๆ กัน 4 ชนิด คือ
4.1 พัดลม ทำหน้าที่กระจายความร้อนในตู้ให้สม่ำเสมอ พร้อมกันนี้ จะทำหน้าที่ดูดอากาศดีเข้าไปในตู้และ
อากาศ เสียออกจากตู้โดยจะรั้กษาอากาศที่ดีมีออกซิเจน 21% ไว้ในตู้ให้มากที่สุด และลดระดับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
ให้ต่ำกว่า 0.5% ความเร็วพัดลมประมาณ 155-250 รอบต่อนาที ขึ้นอยู่กับขนาดของใบพัด และรักษาการเคลื่อนไหว
ของลมผ่านไข่ในถาดไม่ให้เร็วเกินไป ส่วนใหญ่แล้วลมจะพัดผ่านไข่ด้วยความเร็ว 7 ซม./นาที ในขณะที่เดินเครื่องพัดลม
จะเป่าอากาศออกและดูดอากาศเข้าตลอดเวลาและต้องการอากาศหายใจและเป็นทวีคูณ ตามอายุของการฟักไข่ เช่น ไข่ 1,000 ฟอง ต้องการอากาศหายใจอายุ 1 วัน 18 วัน และ 21 วัน เท่ากับ 3,143 และ 216 ลูกบาศก์ฟุตต่อชั่วโมง ตามลำดับ ซึ่งมากกว่า 100 เท่าของระยะแรกๆ การตั้งพัดลมจะต้องอยู่ในตำแหน่งที่ไม่เป่าลมไปกระทบไข่โดยตรง ด้านหน้าพัดลมจะมีลวดร้อนไฟฟ้าให้ความร้อนแก่ตู้ฟัก พัดลมจะพฟัดผ่านความร้อนแล้วนำความร้อนไปกระทบกับผนังตู้ก่อนแล้วจึงกระจาย ไปบนไข่ไก่ด้วยแรงสะท้อน จุดตรงที่ลมกระทบผนังนี้จะเจาะรูสำหรับอากาศออก ส่วนด้านตรงข้ามของรูออกจะเป็นตำแหน่งเจาะรูสำหรับอากาศเข้า ในกรณีที่ไฟฟ้าดับและพัดลมไหม้จะทำให้อากาศภายในตู้ร้อนจัด และไม่มีอากาศหมุนเวียน ลูกไก่จะตายหมด ดังนั้นในทางปฏิบัติ จึงต้องเปิดฝาตู้ฟักไข่ไว้จนกว่าไฟฟ้าจะมาหรือซ่อมพัดลมเสร็จ การเปิดฝาตู้ฟักขึ้นอยู่กับอายุของไข่ในตู้ ถ้าหากไข่อายุน้อยเปิดเพียงแง้มตู้ไว้เป็นพอ แต่ถ้าไข่อายุมาก จะต้องเปิดกว้างขึ้นเพื่อป้องกันไม่ให้อากาศภายในร้อนจัด ซึ่งความร้อนที่เกิดจากการหายใจของลูกไก่ จุดวิกฤตที่ต้องเอาใจใส่อย่างยิ่งคือช่วงสุดท้ายของการฟักไข่ คือระหว่าง 18-21 วัน ถ้าหากไฟฟ้าดับพัดลมไม่เดิน ลูกไก่จะตายภายใน 10-20 นาที เพราะขาดอากาศหายใจ จึงต้องคอยระวังอย่างใกล้ชิดและเปิดฝาตู้ทันทีที่ไฟดับ
4.2 ลวดร้อนไฟฟ้า เป็นแหล่งให้ความร้อนแก่ตู้ฟักจะวางอยู่หน้าพัดลมหรือใกล้ๆ พัดลม ลวดร้อนมีขนาดตั้งแต่ 100 วัตต์ ถึง 1,500 วัตต์ ขึ้นอยู่กับขนาดของตู้ ตู้บรรจุ 10,000 ฟอง ใช้ลวดร้อนประมาณ 750-1,000 วัตต์ ในตู้หนึ่งๆ อาจจะวางลวดร้อนๆ ไฟฟ้าไว้หลายแห่งตามจำนวนพัดลมที่ใช้ การทำงานของลวดร้อนจะถูกควบคุมด้วยเครื่องควบคุมอุณหภูมิอัตโนมัติ จุดที่ต้องสนใจขอวงลวดร้อนไฟฟ้า คือ ระวังอย่าให้ถูกน้ำจะทำให้ไฟฟ้าลัดวงจร และช๊อตเป็นอันตรายและถ้าหากเดินเครื่องแล้วอุณหภูมิตู้ไม่สูงขึ้น อาจจะเนื่องมาจากสายลวดร้อนขาดหรือไม่ก็สะพานไฟหรือสายไฟที่ต่อเข้าลวดร้อน ขาดตอนบางแห่ง หรืไม่ก็อุปกรณ์ที่ควบคุมลวดร้อนเสีย
4.3 เครื่องกลับไข่ การฟักไข่จำเป็นจะต้องกลับไข่เสมอ อย่างน้อยวันละ 4-6 ครั้ง การกลับไข่ คือ การทำให้ไข่ที่กำลังฟักอยู่เคลื่อไหว ไม่ให้นอนนิ่งอยู่ตำแหน่งเดิมเป็นเวลานานๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวอ่อนที่อยู่ในเปลือกตายก่อนเกิด อันเนื่องจากตัวอ่อนลอยขึ้นไปติดกับเปลือกไข่ ถ้าให้ไข่นอนอนิ่งอยู่ที่เดิมนานเกินไป โดยปกติเครื่องฟักไข่จะกลับไข่ทุกๆ ชั่วโมงๆ ละครั้ง แต่เราก็สามารถปรับให้กลับทุกๆ 2 ชั่วโมง ก็ได้ไม่แตกต่างกัน วิธีกลับไข่ของเครื่องฟัก คือ มันจะทำให้ถาดไข่เอียงไปซ้ายและขวาด้วยมุม 30-45 องศา แต่ดีที่สุดคือ 45 องศา |
สรุปขั้นตอนการจัดการฟักไข่ไก่ |
1. คัดเลือกไข่ไก่ที่จะเข้าฟักให้มีขนาด 50-65 กรัม มีรูปร่างไข่ปกติผิวเปลือกไข่เรียบ สม่ำเสมอ เปลือกหนาและไม่บุบร้าว
2. รมควันฆ่าเชื้อก่อนนำเข้าห้องเก็บไข่ทุกๆ ครั้ง หลังจากข้อ 1
3. เก็บรวบรวมไข่เข้าตู้ฟักทุกๆ 3-7 วัน ด้วยอุณหภูมิ 60-65 องศาF ความชื้น 75-80% หรืออุณหภูมิตุ้มเปียก 68 องศาF
4. กลับไข่ในห้องเก็บไข่ทุกๆ วันๆ ละ 1 ครั้ง โดยการขยับถาดไข่ให้โยกเล็กน้อย หรือขยับถาดพอที่จะทำให้ไข่เคลื่อนที่จากที่ๆ อยู่เดิม
5. ก่อนนำเข่เข้าตู้ฟักให้นำไข่ออกจากห้องเย็นผึ่งอากาศในอุณหภูมิห้องไม่น้อยกว่า 12 ชั่วโมง หรือหนึ่งคืนก่อนนำเข้าตู้ฟัก
6. เดินเครื่องตู้ฟักไข่ก่อนนำไข่เข้าตู้อย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 3 ชั่วโมง และตั้งอุณหภูมิและความชื้นดังนี้
อายุการฟักไข่ | อุณหภูมิ | ความชื้น |
องศา C | องศา F | %RH | ตุ้มเปียก |
|
1-18 วัน
18-21 วัน | 37.77
37.2 | 100
99 | 60
61-65 | 84
86-88 | องศาF
องศาF |
7. รมควันฆ่าเชื้อโรคอีกครั้งหนึ่งหลังจากจัดไข่เข้าตู้ฟักเรียบร้อยแล้ว โดยใช้ด่างทับทิม 17 กรัม+ฟอร์มาลีน 40% 30 ซีซี. ต่อปริมาตรตู้ฟัก 100 ลูกบาศก์ฟุต ขณะที่รมควันให้ปิดช่องอากาศเข้า-ออก และฝาตู้ฟักทั้งหมดเป็นเวลา 20-25 นาที จากนั้นจึงเปิดฝาตู้และช่องอากาศ และเดินเครื่องอีก 30 นาที เพื่อไล่ควันพิษออกให้หมดก่อนที่จะดำเนินการเดินเครื่องตามปกติ
8. ปรับรูอากาศเข้าและรูอากาศออกตามอายุของไข่ฟัก ไข่ฟักอายุ 1-8 วัน ปรับรูอากาศเข้าให้เปิด 1 ใน 3 รูอากาศออก 1 ใน 2 และไข่ฟักอายุ 18-21 วัน ซึ่งเป็นระยะที่เตรียมลูกไก่ออกให้เปิดรูอากาศเข้าและออกเต็มที่ ในกรณีที่เปิดรูอากาศออกเต็มที่แล้ว ทำให้ความชื้นต่ำกว่าที่กำหนดในมาตรฐานให้ปรับรูอากาศออก 3 ใน 4 และเพิ่มถาดน้ำในตู้ฟักไข่ให้มากขึ้น
9. เติมน้ำในถาดใส่น้ำอย่ให้ขาดและตรวจสอบกับอุณหภูมิของปรอทตุ้มเปียกให้ได้ 84-86 องศาF ถ้าหากอุณหภูมิต่ำกว่านี้ให้เพิ่มถาดน้ำให้มากขึ้นจนได้อุณหภูมิตามต้องการ
10. บันทึกอุณหภูมิและความชื้นทุกๆ วันๆ ละ 2 ครั้ง คือ เวลาเช้า 7.00-8.00 น. และบ่าย 14.00-15.00 น. บันทึกลงในสุมดปกแข็งสำหรับใช้กับโรงฟักไข่โดยเฉพาะตามแบบฟอร์มและเปรียบเทียบกับมาตรฐาน
วันที่ | เวลาเช้า 7.00-8.00 น. | เวลาบ่าย 14.00-15.00 น. |
อุณหภูมิ
(องศาF) | ความชื้น
(องศาF) | อุณหภูมิ
(องศาF) | ความชื้น
(องศาF) |
1
2
3
4
.
.
.
.
30
31 |
|
|
|
|
11. กลับไข่ทุกๆ 1-2 ชั่วโมง ในกรณีตู้ฟักไข่ใช้คันโยกกลับไข่ ให้กลับวันละ 5-6 ครั้ง
12. ส่องไข่เชื้อตายและไม่มีเชื้อออกเมื่อฟักได้ 7,14 และ 18 วัน แล้วลงบันทึกในแบบฟอร์มการฟักไข่แขงแต่ละรุ่มนสมุดปกแข็งประจำโรงฟักไข่
13. ย้ายไข่อายุ 18 วัน ไปฟักในตู้เกิด (Hatcher) โดยให้ไข่นอนนิ่งบนถาดไข่และไม่มีการกลับไข่ในระยะ 3 วันสุดท้ายนี้ ตัวอ่อนจะเจริญเติบโตมาก สร้างความร้อนขึ้นได้เองในตัวอ่อน จึงต้องลดอุณหภูมิของตู้เกิดให้เหลือ 98.9-99 องศาF แต่ความชื้นตุ้มเปียกเพิ่มขึ้นเป็น 88 องศาF
14. ย้ายลูกไก่ออกจากตู้เกิดในวันที่ 21 ของการฟัก บันทึกข้อมูลจำนวนลูกไก่ที่เกิดและตายโคม คัดลูกไก่ที่ไม่สมบูรณ์และอ่อนแอออกพร้อมทั้งบันทึกความแข็งแรงหรือข้อสังเกตในช่องหมายเหตุของแต่ละรุ่น นำถาดไข่ที่เปรอะเปื้อนขี้ของลูกไก่แช่ไว้ในถังน้ำและใช้แปรงขัดให้สะอาด ล้างด้วยน้ำจืดอีกครั้ง แล้วนำไปตากแดดฆ่าเชื้อโรค ทำความสะอาดช่องที่เกิดลูกไก่ ปัดกวาดขนลูกไก่ออกและใช้ผ้าชุบน้ำถูพื้นและชั้นวางถาดก่อน จากนั้นจึงเะอาผ้าชุบน้ำละลายด่างทับทิมเช็ดถูพื้น และชั้นวางถาดไข่ทุกๆ ครั้ง ที่มีการนำลูกไก่ออกจากตู้เป็นการฆ่าเชื้อโรคในตู้เกิดลูกไก่
15. ล้างถาดใส่ไข่ที่ใช้สำหรับวางไข่ฟักอายุ 1-18 วัน ทุกๆ สัปดาห์ก่อนนำไปใส่ไข่ฟักพร้อมทั้งทำความสะอาด กวาดฝุ่นบนหลังตู้ไม่ให้มีใยแมงมุมและวัสดุอื่นๆ อุดตันช่องอากาศออก ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่บนหลังตู้ฟักทุกๆ ตุ้ให้ทำความสะอาดทุกๆ เดือนๆ ละ 1 ครั้ง การปิดตู้ทำความสะอาดเดือนละ 1-2 ครั้ง จะไม่มีผลกระทบต่อการฟักไข่ ดังนั้น ทุกๆ ครั้ง ที่ทำความสะอาดภายในตู้ฟักจึงสมควรปิดเครื่องก่อนป้องกันอันตรายที่อาจจะ เกิดขึ้นจากไฟช๊อตและพัดลมตี |
|
เป็นการเผยแพร่ความรู้ที่มีประโยชน์มาก ถ้าจะให้ดีควรมีภาพประกอบด้วย แต่แค่นี้ก็สุดยอดแล้ว คราวหน้าคงมีมาอีกนะ...
ตอบลบ