วันเสาร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2554

กิจกรรม Bankai แจก

Bankai แจกรอบที่ 1 ก็ดำเนินไปได้ด้วยดี จนของหมดกระเป๋าผมเลยล่ะครับ สำหรับเพื่อนๆที่ยังไม่รู้กิจกรรม วันนี้ผม BankaiAdinza ได้ทำตารางแจกของ และรายละเอียดกิจกรรมให้เพื่อนๆได้ติดตามแบบใกล้ชิดกันเลยทีเดียว ไปชมกันก่อนดีกว่าคร๊าบ~

::: ตารางการแจก :::
Bankai แจกรอบที่ 1 (ทดสอบแจก) (วันที่ 24/12/2554 เวลา 10.00 - 10.20 น. , 21.00 - 21.20 น.)
Bankai แจกรอบที่ 2 (ทดสอบแจก) (วันที่ 25/12/2554 เวลา 10.00 - 10.20 น. , 20.00 - 20.20 น.)
Bankai แจกรอบที่ 3 (วันที่ 26/12/2554 เวลา 17.50 - 18.00น. , 19.00 - 19.20น.)
Bankai แจกรอบที่ 4 (วันที่ 28/12/2554 เวลา 17.50 - 18.00น. , 19.00 - 19.20น.)
Bankai แจกรอบที่ 5 (วันที่ 30/12/2554 เวลา 20.00 - 20.15น. , 20.30 - 20.45น.)
::: รายละเอียดกิจกรรม :::
1.ทีมงานของเราจะอยู่ในแก๊ง BankaiTeam เท่านั้น
2.แจกของรางวัลที่เมืองจีน China 15 ใครที่เข้าไม่ได้ก็กดย้ำๆนะคร๊าบ~
3.ทีมงานจะแจกของรางวัลอยู่ที่หน้า " พ่อค้าขายชุดเช่า "
4.ทีมงานจะตั้งชื่อร้านว่า Bankai แจก รอบที่ x (ว/ด/ป)
5.รายชื่อทีมงานของกิจกรรม Bankai แจก
 5.1 BankaiTaekwo
 5.2 BankaiJza (ยังไม่ทราบผลการเข้าร่วม)
 5.3 eQienE (ยังไม่ทราบผลการเข้าร่วม)

:::หมายเหตุ:::
1.ราคาของสินค้าทุกชิ้น คือราคาที่ทีมงานได้ตั้งเอง เช่น Football Glove Orange ORB+10 ราคา 2.5M
2.ทีมงานจะปิดโหมดแลกเปลี่ยน เพื่อป้องการแลคของคอมพิวเตอร์ =w="
3.ตารางการแจกสีพื้นหลังมีหมายเหตุดังนี้
 3.1 สีเขียว แจกแล้ว
 3.2 สีแดง มีปัญหาทางทีมงาน
 3.3 สีดำ ยกเลิกการแจก
 3.4 สีชมพู เพิ่มของรางวัลในการแจก
 3.5 สีน้ำเงิน กำลังดำเนินงาน
4.กรุณาอย่าขวางทางการตั้งร้านของทีมงาน

::: เวลากิจกรรม :::
วันที่ 24/12/2554 ถึง วันที่ 05/01/2555*
(:::หมายเหตุ::: เริ่มตั้งแต่วันที่ 24/12/2554 ถึง วันที่ 05/01/2555 หรือจนกว่าไอเทมจะหมด )

วันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2554

๕ ธันวามหาราช ๒๕๕๔ วันพ่อแห่งชาติ

ความเป็นมาวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวา ( วันพ่อ )
5 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทางราชการได้กำหนดให้เป็นวันหยุดราชการหนึ่งวัน เพื่อให้ประชาชนชาวไทย ได้ร่วมกันเฉลิมฉลองในวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ ถือเป็นวันพ่อแห่งชาติ อีกวันหนึ่งด้วย วันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีความเป็นมาของวันสำคัญ คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระราชสมภพเมื่อ วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 ณ โรงพยาบาล เมาท์ ออเบิร์น นครบอสตัน สหรัฐอเมริกา โดยนายแพทย์วิทท์มอร์ เป็นผู้ถวายการประสูติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติเป็นรัชกาลที่ 9 แห่งบรมจักรีวงศ์ กรุงรัตนโกสินทร์ ทรงประกอบพระราชกรณียกิจและเจริญพระราชจริยาวัตรเป็นเอนกประการ จำเนียรกาลผ่านมาถึงปัจจุบันที่สุดจะพรรณนาให้ครบถ้วนได้ ท่ามกลางมหาสมาคมวันพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษก ทรงมีกระแสพระราชดำรัสที่พสกนิกรทุกคนยังจดจำได้ "เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม" อันคำว่าโดย "ธรรม" นั้น ทรงหมายถึง ธรรมอันล้ำเลิศที่เรียกว่า "ทศพิธราชธรรม" หรือที่เรียกกันโดยสามัญว่า "ราชธรรม 10 ประการ" ราชธรรม 10 ประการนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงยึดมั่นทรงปฎิบัติโดยเคร่งครัด และส่งผลถึงพสกนิกรทั่วพระราชอาณาจักรนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณเหนือเกล้าฯ
วันพ่อแห่งชาติ ได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2523 โดยคุณหญิงเนื้อทิพย์ เสมรสุต นายกสมาคมผู้อาสาสมัครและช่วยการศึกษาเป็นผู้ริ่เริ่ม หลักการและเหตุผลในการจัดตั้งวันพ่อ โดยที่พ่อเป็นผู้มีพระคุณที่มีบทบาทสำคัญ ต่อครอบครัวและสังคม สมควรที่ผู้เป็นลูกจะเคารพเทิดทูนตอบแทนพระคุณด้วยความกตัญญู และสมควรที่สังคมจะยกย่องให้เกียรติรำลึกถึงผู้เป็นพ่อ จึงถือเอาวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปีซึ่งเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาเป็น "วันพ่อแห่งชาติ" ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทยอย่างนานัปการ ทรงเป็นพระราชบิดาของพระราชโอรสและพระราชธิดา ทรงรักใคร่และห่วงใยตั้งแต่พระเยาว์จนถึงปัจจุบัน รวมทั้งพระเจ้าหลานเธอทุกพระองค์ต่างซาบซึ้งและปลาบปลื้มในพระมหากรุณาธิคุณอย่างมิรู้ลืม พระองค์ทรงเป็น "พ่อ" ตัวอย่างของปวงชนชาวไทยที่เปี่ยมล้นด้วยพระเมตตากรุณา ทรงห่วงใยอย่างหาที่เปรียบมิได้


Creadit:http://www.zabzaa.com
กิจกรรมวันพ่อ
วันพ่อแห่งชาตินี้เป็นวันแห่งความสุขมากๆ ทางทีมงานจึงจัดกิจกรรมขึ้นมาที่ชื่อว่า การ์ดอวยพรวันพ่อ
รูปใดถูกใจกรรมการที่สุดจะได้รับของรางวัลจากเกม Zone4 กันไปเล้ย~

ที่ 1 Skill up grade 50 Ea , 100,000 Zen
ที่ 2 Skill up grade 30 Ea , 50,000 Zen
ทีี่ 3 Skill up grade 20 Ea , 30,000 Zen

ไม่ต้องกังวลว่าจะไม่ได้ของรางวัล เพราะเรายังมีของรางวัลปลอบใจสำหรับผู้ที่ไม่ติดอันดับทั้ง 3 อันดับให้อีกฟรีๆ กันไปเล้ย~

Skill up grade 10 Ea , 10,000 Zen

หมายเหตุ
1.ต้องเป็นสมาชิกของบล็อก Bankaiadinza
2.รูปที่ส่งมาประกวดนั้นต้องเป็นไฟล์ .Jpeg เท่านั้น
3.ผู้ที่ส่งมาประกวดต้องบอกชื่อในเกมด้วย

ตัวอย่าง





ชื่อ BankaiTaekwo ครับ


ประกาศรายชื่อผู้โชคดี วันเสาร์ ที่ 10 ธันวาคม 2554 นี้นะครับ

วันพฤหัสบดีที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2554

aBowman » Hamster

aBowman » Hamster: This lively pet hamster will keep you company throughout the day. Watch him run on his wheel, drink water, and eat the food you feed him by clicking your mouse. Click the center of the wheel to make him get back on it.

วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2554

วันเสาร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2554

ฟอรัมของเรา

เพื่อนๆทุกคนครับ ทางทีมงานได้สร้าง Forum ขึ้นมาแล้วที่
http://forums.212cafe.com/bankaiadinza/

เพื่อนๆสามารถไปสมัครสมาชิกหรือโพสต์ข้อมูลได้เลยนะครับ

วันเสาร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

วันวาเลนไท 2011

วันวาเลนไท (ไม่รู้เขียนถูกป่าว) ปีนี้ขอให้เพื่อนๆ น้องๆ ทุกคนมีแต่ความรัก ขอให้มีแต่ความสุข คิดสิ่งใดให้ได้สิ่งนั้น ขอให้มีสุขภาพแข็งแรง วันวาเลนไทนี้ใครที่แอบรักใครชอบใครอยู่ก็ขอให้บอกวันนี้เลยนะครับ มีวันเดียวใน 1 ปี เท่านั้นนะครับ วันนี้สวัสดีครับ โดย อาลาดิน

วันอาทิตย์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2554

การสอบ O-net ป.6 พร้อมกันทั่วประเทศ 2011

สอบ O-NET ป.6 ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2554 นี้พร้อมกันทั่วประเทศ
เพื่อวัดผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ
ในการสอบ O-NET ป.6 ปีนี้คลอบคลุมเนื้อหาวิชาทั้ง 8 กลุ่มสาระ คือ
1.       ภาษาไทย 18 ข้อ เวลา 45 นาที
2.       สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม  12 ข้อ เวลา 23 นาที
3.       ภาษาอังกฤษ  8 ข้อ เวลา 22 นาที
4.       คณิตศาสตร์ 20 ข้อ เวลา 45 นาที
5.       วิทยาศาสตร์ 13 ข้อ เวลา 25 นาที
6.       สุขศึกษาและพลศึกษา 6 ข้อ เวลา 7 นาที
7.       การงานอาชีพและเทคโนโลยี 7 ข้อ เวลา 7 นาที
8.       ศิลปะ 6 ข้อ เวลา 6 นาที
ข้อควรปฏิบัติในการสอบ
1.       ตรวจสอบกระดาษคำตอบ ว่าเป็นชื่อตัวเองหรือไม่ เพราะ สทศ.พิมพ์ชื่อ นามสกุล เลขประชาชน 13 หลัก
เลขที่นั่งสอบ วิชาสอบ ห้องสอบ สนามสอบ วัน-เวลาสอบ มาให้แล้ว
2.       เซ็นชื่อบนกระดาษคำตอบและใบเซ็นชื่อ โดยลายเซ็นต้องเมือนกันทั้งสองแห่ง
3.       อ่าน คำแนะนำในการทำข้อสอบให้เข้าใจ ก่อนที่จะทำข้อสอบ ตรวจดูว่าข้อสอบครบทุกหน้าหรือไม่ ควรทำข้อสอบทีละข้อและระบายข้อสอบให้ตรงกับเลขที่ข้อในกระดาษคำตอบ
4.       การระบายคำตอบลงในกระดาษคำตอบต้องระบายให้เต็ม ถ้าจะลบต้องลบให้สะอาดและควรใช้ดินสอ 2 B เท่า นั้น เมื่อทำเสร็จแล้วตรวจสอบความสมบูรณ์ครบถ้วนก่อน แล้วนั่งรอจนหมดเวลา อย่าทำกระดาษคำตอบเลอะหรือยับยู่ยี่และห้ามทำลายบาร์โค้ด (Bar code)ในกระดาษคำตอบ เพราะเครื่องจะไม่ตรวจกระดาษคำตอบแผ่นนั้น
5.       ตั้งใจทำข้อสอบอย่างมีสมาธิและครูขอให้ทุกคนโชคดีนะจ๊ะ......

วันศุกร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2554

การฟักไข่

การฟักไข่ไก่

          
วัตถุประสงค์หลักของการเลี้ยงไก่พันธุ์ คือการผลิตสัตว์ปีกพันธุ์ดีจำหน่ายสมาชิกเกษตรกร ดังนั้น จึงจำเป็นจะต้อง
เอาใจใส่ในเรื่องของการฟักไข่อย่างใกล้ชิด เพราะว่าจุดนี้เป็นจุดสุดท้ายที่เราจะนำเอาผลงานออกเผยแพร่เกษตรกรและ
ประชาชนทั่วไป
          ในการฟักไข่จะให้ได้ผลนั้นมีปัจจัยที่จะต้องนำมาพิจารณาร่วมกันอยู่หลายปัจจัยด้วยกัน การประเมินผลของการฟักไข
่ หรือประสิทธิภาพของการฟักไข่จะต้องพิจารณาสิ่งต่างๆ ต่อไปนี้ประกอบคือ

1. อายุของพ่อและแม่พันธุ์
2. อาหารที่ใช้เลี้ยงพ่อแม่พันธุ์
3. การเก็บและคัดไข่พันธุ์
4. ตู้ฟักและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง
5. วิธีจัดการฟักไข่ที่เหมาะสม


1. อายุของพ่อแม่ไก่พันธุ์

          พ่อแม่ที่มีอายุมากจะทำให้อัตราการผสมติดและการฟักออกต่ำกว่าไก่ที่มีอายุน้อย อัตราการผสมติดและการฟักออกจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นับแต่ไข่ไก่ฟองแรกไปสูงสุดเมื่อไก่ไข่ไปได้ 14-16 สัปดาห์ จากนั้นจะค่อยๆ ลดลง ในทางปฏิบัติไข่ไก่ระยะ 1-3 สัปดาห์ ไปแล้วเช่นกัน ไก่ที่ไข่ครบปีแล้วจะไม่เก็บไข่เข้าฟัก เพราะอัตราการผสมติดจะฟักออกต่ำ ดังนั้นจะเก็บเฉพาะช่วงสัปดาห์ที่ 4 ถึงสัปดาห์ที่ 52


2. อาหารที่ใช้เลี้ยงไก่พันธุ์
          อาหาร ไก่พันธุ์จะแตกต่างกันกับอาหารไก่ไข่ที่ผลิตไข่เพื่อบริโภค จะต่างกันในส่วนของไวตามินที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตและากรพัฒนาของตัว อ่อนในไข่ฟัก เช่น ไวตามินบี 12, บี 2 และไวตามินอี ซึ่งถ้าหากไวตามินเหล่านี้ไม่พอกับความต้องการของร่างกายและการเจริญเติบโต ของตัวอ่อนแล้ว จะมีผลกระทบต่อการผสมติด เช่น ขาดไวตามิน จะทำให้การผสมติดและตัวอ่อนตายในระยะอายุ 18 วัน มากกว่าปกติ ถ้าหากขาดไวตามินบี 1 จะทำให้ตัวอ่อนตายในระยะ 7-10 วัน มาก  โดยเฉพาะขาดไวตามินบี 2 หรือที่เรียกว่าไรโบฟลาวิน แล้วลูกไก่จะตายระยะสุดท้ายมากคือตายโคมมาก ตัวอ่อนจะพัฒนาจนสมบูรณ์ทุกอย่าง ไข่แดงดูดซึมเข้าท้องทุกตัว และมีขนขึ้นเต็มตัวแต่ไม่สามารถเจาะเปลือกไข่ออกได้ ดังนั้น ในการพิจารณาหาเหตุผลว่าทำไมการฟักไข่จึงให้ผลต่ำกว่ามาตรฐานจึงใคร่ขอให้ คำนึงถึงอาหารที่ใช้เลี้ยงแม่พันธุ์ด้วย การให้อาหารไก่ไข่ในการผลิตไข่บริโภคมาเลี้ยงไก่แม่พันธู์แล้วจะทำให้การฟัก ออกต่ำจึงจำเป็นที่จะต้องเพิ่มไวตามิน เอ, ดี, อี และบีให้มากขึ้น และอาหารจะต้องใหม่สดอยู่เสมอ เพราะอาหารเก่าเก็บไว้นานไวตามินจะเสื่อมสลาย ทำให้ไก่ขาดไวตามินที่เกี่ยวข้องกับการผสมติดและฟักออก สำหรับอาหารไก่พ่อพันธุ์จะแตกต่างกับอาหารแม่พันธุ์ตรงที่มีธาตุแคลเซี่ยม และฟอสฟอรัสที่ต่ำกว่า


3. การเก็บและคัดไข่พันธุ์
          การ ฟักไข่โดยปกติจะฟักด้วยเครื่องฟักไข่ทันสมัยที่มีขนาดบรรจะได้ตั้งแต่ 100-100,000 ฟอง การฟักจะแบ่งออกเป็นรุ่นๆ โดยรวบรวมไข่ให้ได้มากๆ จึงนำเข้าตู้ฟักครั้งหนึ่งในทางปฏิบัติเราจะรวบรามเข้าตู้ฟักทุกๆ 3-7 วัน โดยากรเก็บไข่ไว้ในห้องเก็บไข่ที่ปรับอากาศที่มีอุณหภูมิ 65 องศา F(18.3 องศา C) ความชื้นสัมพัทธ์ 75-80% หรือเท่ากับอุณหภูมิตุ้มเปียก 55-58 องศา F ก่อนที่จะนำไข่เข้าเก็บในห้องเย็นควรจะคัดไข่ที่ไม่ได้ขนาดออกไป ควรเก็บเฉพาะไข่ขนาด 50-56 กรัม/ฟอง ใหญ่หรือเล็กกว่านี้คัดออกพร้อมนี้ได้คัดไข่บุบ ร้าว ผิวเปลือกบาง ขรุขระ และรูปร่างผิดปกติออก หลังจากคัดไข่แล้วจะต้องรมควันฆ่าเชื้อโรคที่ติดมากับเปลือกไข่ก่อนนำเข้า เก็บในนำเข้าเก็บในห้องเย็นทุกครั้ง การรมควันควรทำให้ตู้ไม้ปิดฝาสนิทที่จัดสร้างไว้เป็นเพิเศษตามความเหมาะสม กับปริมาณไข่เป็นตู้ไม้ที่มีฝาปิด-เปิดได้ ภายในตู้โล่งเป็นที่สำหรับวางถาดไข่ที่วางเรียงซ้อนกันได้ หรือแบ่งเป็นชั้นๆ แต่ต้องเจาะรูให้ควันผ่านได้ การรมควันให้ใช้ด่างทับทิม จำนวน 17 กรัม ใส่ลงบนถ้วยแก้วหรือถ้วยกระเบื้อง (ห้ามใช้ภาชนะที่เป็นโลหะ) แล้วเติมด้วยยาฟอร์มาลีน 40% จำนวน 30 ซีซี. ลงไปในถ้วย ชั่วครู่จะมีควันเกิดขึ้นและรีบปิดฝาตู้ทิ้งไว้ 20 นาที แล้วจึงเปิดฝาไว้อีกนาน 20-30 นาที จึงนำไปเข้าห้องเก็บไข่ ส่วนผสมของด่างทับทิม และฟอร์มาลีน ดังกล่าวใช้สำหรับรมควันตู้ขนาด 100 ลูกบาศก์ฟุต ถ้าหากท่านมีตู้รมควันเล็กกว่านี้ให้ลดน้ำยาและด่างทั้บทิมลงตามส่วน การเก็บไข่ไว้ในห้องเย็นควรจะเรียงไข่ไว้บนถาดใส่ไข่ที่เป็นพลาสติกที่ สามารถซ้อนกันได้สูงเป็นตั้งๆ ได้ เพื่อป้องกันลมในห้องเย็นไม่ให้ผ่านไข่มากเกินไป และสะดวกต่อการกลับไข่ โดยการใช้มือเขย่าถาดไข่ทั้งตั้งให้เคลื่อนไหวเบาๆ ทำทุกๆวันๆ ละ 1 ครั้ง จะช่วยลดอัตราการตายของตัวอ่อน ระยะ 1-7 วันได้มาก ก่อนที่จะนำไข่เข้าฟัก จะต้องนำไข่ออกผึ่งไว้นในอุณหภูมิห้องอย่างน้อย 12 ชั่วโมง หรือผึ่งอากาศนอกห้องเย็นไว้คืนหนึ่งก่อนจะนำเข้าตู้ฟัก


4. ตู้ฟักไข่และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง
          ตู้ ฟักไข่ไก่ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันเป็นตู้ฟักไข่ไฟฟ้า มีขนาดบรรจุแตกต่างกันตั้งแต่ 100 ฟอง จนถึง 100,000 ฟอง แต่โดยหลักการและวิธีการแล้วทุกตู้จะต้องมีอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ต่างๆ กัน 4 ชนิด คือ

          4.1 พัดลม ทำหน้าที่กระจายความร้อนในตู้ให้สม่ำเสมอ พร้อมกันนี้ จะทำหน้าที่ดูดอากาศดีเข้าไปในตู้และ
อากาศ เสียออกจากตู้โดยจะรั้กษาอากาศที่ดีมีออกซิเจน 21% ไว้ในตู้ให้มากที่สุด และลดระดับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
ให้ต่ำกว่า 0.5% ความเร็วพัดลมประมาณ 155-250 รอบต่อนาที ขึ้นอยู่กับขนาดของใบพัด และรักษาการเคลื่อนไหว
ของลมผ่านไข่ในถาดไม่ให้เร็วเกินไป ส่วนใหญ่แล้วลมจะพัดผ่านไข่ด้วยความเร็ว 7 ซม./นาที ในขณะที่เดินเครื่องพัดลม
จะเป่าอากาศออกและดูดอากาศเข้าตลอดเวลาและต้องการอากาศหายใจและเป็นทวีคูณ ตามอายุของการฟักไข่ เช่น ไข่ 1,000 ฟอง ต้องการอากาศหายใจอายุ 1 วัน 18 วัน และ 21 วัน เท่ากับ 3,143 และ 216 ลูกบาศก์ฟุตต่อชั่วโมง ตามลำดับ ซึ่งมากกว่า 100 เท่าของระยะแรกๆ การตั้งพัดลมจะต้องอยู่ในตำแหน่งที่ไม่เป่าลมไปกระทบไข่โดยตรง ด้านหน้าพัดลมจะมีลวดร้อนไฟฟ้าให้ความร้อนแก่ตู้ฟัก พัดลมจะพฟัดผ่านความร้อนแล้วนำความร้อนไปกระทบกับผนังตู้ก่อนแล้วจึงกระจาย ไปบนไข่ไก่ด้วยแรงสะท้อน จุดตรงที่ลมกระทบผนังนี้จะเจาะรูสำหรับอากาศออก ส่วนด้านตรงข้ามของรูออกจะเป็นตำแหน่งเจาะรูสำหรับอากาศเข้า ในกรณีที่ไฟฟ้าดับและพัดลมไหม้จะทำให้อากาศภายในตู้ร้อนจัด และไม่มีอากาศหมุนเวียน ลูกไก่จะตายหมด ดังนั้นในทางปฏิบัติ จึงต้องเปิดฝาตู้ฟักไข่ไว้จนกว่าไฟฟ้าจะมาหรือซ่อมพัดลมเสร็จ การเปิดฝาตู้ฟักขึ้นอยู่กับอายุของไข่ในตู้ ถ้าหากไข่อายุน้อยเปิดเพียงแง้มตู้ไว้เป็นพอ แต่ถ้าไข่อายุมาก จะต้องเปิดกว้างขึ้นเพื่อป้องกันไม่ให้อากาศภายในร้อนจัด ซึ่งความร้อนที่เกิดจากการหายใจของลูกไก่ จุดวิกฤตที่ต้องเอาใจใส่อย่างยิ่งคือช่วงสุดท้ายของการฟักไข่ คือระหว่าง 18-21 วัน ถ้าหากไฟฟ้าดับพัดลมไม่เดิน ลูกไก่จะตายภายใน 10-20 นาที เพราะขาดอากาศหายใจ จึงต้องคอยระวังอย่างใกล้ชิดและเปิดฝาตู้ทันทีที่ไฟดับ

          4.2 ลวดร้อนไฟฟ้า เป็นแหล่งให้ความร้อนแก่ตู้ฟักจะวางอยู่หน้าพัดลมหรือใกล้ๆ พัดลม ลวดร้อนมีขนาดตั้งแต่ 100 วัตต์ ถึง 1,500 วัตต์ ขึ้นอยู่กับขนาดของตู้ ตู้บรรจุ 10,000 ฟอง ใช้ลวดร้อนประมาณ 750-1,000 วัตต์ ในตู้หนึ่งๆ อาจจะวางลวดร้อนๆ ไฟฟ้าไว้หลายแห่งตามจำนวนพัดลมที่ใช้ การทำงานของลวดร้อนจะถูกควบคุมด้วยเครื่องควบคุมอุณหภูมิอัตโนมัติ จุดที่ต้องสนใจขอวงลวดร้อนไฟฟ้า คือ ระวังอย่าให้ถูกน้ำจะทำให้ไฟฟ้าลัดวงจร และช๊อตเป็นอันตรายและถ้าหากเดินเครื่องแล้วอุณหภูมิตู้ไม่สูงขึ้น อาจจะเนื่องมาจากสายลวดร้อนขาดหรือไม่ก็สะพานไฟหรือสายไฟที่ต่อเข้าลวดร้อน ขาดตอนบางแห่ง หรืไม่ก็อุปกรณ์ที่ควบคุมลวดร้อนเสีย

          4.3 เครื่องกลับไข่ การฟักไข่จำเป็นจะต้องกลับไข่เสมอ อย่างน้อยวันละ 4-6 ครั้ง การกลับไข่ คือ การทำให้ไข่ที่กำลังฟักอยู่เคลื่อไหว ไม่ให้นอนนิ่งอยู่ตำแหน่งเดิมเป็นเวลานานๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวอ่อนที่อยู่ในเปลือกตายก่อนเกิด อันเนื่องจากตัวอ่อนลอยขึ้นไปติดกับเปลือกไข่ ถ้าให้ไข่นอนอนิ่งอยู่ที่เดิมนานเกินไป โดยปกติเครื่องฟักไข่จะกลับไข่ทุกๆ ชั่วโมงๆ ละครั้ง แต่เราก็สามารถปรับให้กลับทุกๆ 2 ชั่วโมง ก็ได้ไม่แตกต่างกัน วิธีกลับไข่ของเครื่องฟัก คือ มันจะทำให้ถาดไข่เอียงไปซ้ายและขวาด้วยมุม 30-45 องศา แต่ดีที่สุดคือ 45 องศา


สรุปขั้นตอนการจัดการฟักไข่ไก่
          1. คัดเลือกไข่ไก่ที่จะเข้าฟักให้มีขนาด 50-65 กรัม มีรูปร่างไข่ปกติผิวเปลือกไข่เรียบ สม่ำเสมอ เปลือกหนาและไม่บุบร้าว

          2. รมควันฆ่าเชื้อก่อนนำเข้าห้องเก็บไข่ทุกๆ ครั้ง หลังจากข้อ 1

          3. เก็บรวบรวมไข่เข้าตู้ฟักทุกๆ 3-7 วัน ด้วยอุณหภูมิ 60-65 องศาF ความชื้น 75-80% หรืออุณหภูมิตุ้มเปียก 68 องศาF

          4. กลับไข่ในห้องเก็บไข่ทุกๆ วันๆ ละ 1 ครั้ง โดยการขยับถาดไข่ให้โยกเล็กน้อย หรือขยับถาดพอที่จะทำให้ไข่เคลื่อนที่จากที่ๆ อยู่เดิม

          5. ก่อนนำเข่เข้าตู้ฟักให้นำไข่ออกจากห้องเย็นผึ่งอากาศในอุณหภูมิห้องไม่น้อยกว่า 12 ชั่วโมง หรือหนึ่งคืนก่อนนำเข้าตู้ฟัก

          6. เดินเครื่องตู้ฟักไข่ก่อนนำไข่เข้าตู้อย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 3 ชั่วโมง และตั้งอุณหภูมิและความชื้นดังนี้

อายุการฟักไข่
อุณหภูมิ
ความชื้น
องศา C
องศา F
%RH
ตุ้มเปียก

1-18 วัน
18-21 วัน
37.77
37.2
100
99
60
61-65
84
86-88
องศาF
องศาF


          7. รมควันฆ่าเชื้อโรคอีกครั้งหนึ่งหลังจากจัดไข่เข้าตู้ฟักเรียบร้อยแล้ว โดยใช้ด่างทับทิม 17 กรัม+ฟอร์มาลีน 40% 30 ซีซี. ต่อปริมาตรตู้ฟัก 100 ลูกบาศก์ฟุต ขณะที่รมควันให้ปิดช่องอากาศเข้า-ออก และฝาตู้ฟักทั้งหมดเป็นเวลา 20-25 นาที จากนั้นจึงเปิดฝาตู้และช่องอากาศ และเดินเครื่องอีก 30 นาที เพื่อไล่ควันพิษออกให้หมดก่อนที่จะดำเนินการเดินเครื่องตามปกติ

          8. ปรับรูอากาศเข้าและรูอากาศออกตามอายุของไข่ฟัก ไข่ฟักอายุ 1-8 วัน ปรับรูอากาศเข้าให้เปิด 1 ใน 3 รูอากาศออก 1 ใน 2 และไข่ฟักอายุ 18-21 วัน ซึ่งเป็นระยะที่เตรียมลูกไก่ออกให้เปิดรูอากาศเข้าและออกเต็มที่ ในกรณีที่เปิดรูอากาศออกเต็มที่แล้ว ทำให้ความชื้นต่ำกว่าที่กำหนดในมาตรฐานให้ปรับรูอากาศออก 3 ใน 4 และเพิ่มถาดน้ำในตู้ฟักไข่ให้มากขึ้น

          9. เติมน้ำในถาดใส่น้ำอย่ให้ขาดและตรวจสอบกับอุณหภูมิของปรอทตุ้มเปียกให้ได้ 84-86 องศาF ถ้าหากอุณหภูมิต่ำกว่านี้ให้เพิ่มถาดน้ำให้มากขึ้นจนได้อุณหภูมิตามต้องการ

          10. บันทึกอุณหภูมิและความชื้นทุกๆ วันๆ ละ 2 ครั้ง คือ เวลาเช้า 7.00-8.00 น. และบ่าย 14.00-15.00 น. บันทึกลงในสุมดปกแข็งสำหรับใช้กับโรงฟักไข่โดยเฉพาะตามแบบฟอร์มและเปรียบเทียบกับมาตรฐาน


วันที่
เวลาเช้า 7.00-8.00 น.
เวลาบ่าย 14.00-15.00 น.
อุณหภูมิ
(องศาF)
ความชื้น
(องศาF)
อุณหภูมิ
(องศาF)
ความชื้น
(องศาF)
1
2
3
4
.
.
.
.

30
31






          11. กลับไข่ทุกๆ 1-2 ชั่วโมง ในกรณีตู้ฟักไข่ใช้คันโยกกลับไข่ ให้กลับวันละ 5-6 ครั้ง

          12. ส่องไข่เชื้อตายและไม่มีเชื้อออกเมื่อฟักได้ 7,14 และ 18 วัน แล้วลงบันทึกในแบบฟอร์มการฟักไข่แขงแต่ละรุ่มนสมุดปกแข็งประจำโรงฟักไข่

          13. ย้ายไข่อายุ 18 วัน ไปฟักในตู้เกิด (Hatcher) โดยให้ไข่นอนนิ่งบนถาดไข่และไม่มีการกลับไข่ในระยะ 3 วันสุดท้ายนี้ ตัวอ่อนจะเจริญเติบโตมาก สร้างความร้อนขึ้นได้เองในตัวอ่อน จึงต้องลดอุณหภูมิของตู้เกิดให้เหลือ 98.9-99 องศาF แต่ความชื้นตุ้มเปียกเพิ่มขึ้นเป็น 88 องศาF

          14. ย้ายลูกไก่ออกจากตู้เกิดในวันที่ 21 ของการฟัก บันทึกข้อมูลจำนวนลูกไก่ที่เกิดและตายโคม คัดลูกไก่ที่ไม่สมบูรณ์และอ่อนแอออกพร้อมทั้งบันทึกความแข็งแรงหรือข้อสังเกตในช่องหมายเหตุของแต่ละรุ่น นำถาดไข่ที่เปรอะเปื้อนขี้ของลูกไก่แช่ไว้ในถังน้ำและใช้แปรงขัดให้สะอาด ล้างด้วยน้ำจืดอีกครั้ง แล้วนำไปตากแดดฆ่าเชื้อโรค ทำความสะอาดช่องที่เกิดลูกไก่ ปัดกวาดขนลูกไก่ออกและใช้ผ้าชุบน้ำถูพื้นและชั้นวางถาดก่อน จากนั้นจึงเะอาผ้าชุบน้ำละลายด่างทับทิมเช็ดถูพื้น และชั้นวางถาดไข่ทุกๆ ครั้ง ที่มีการนำลูกไก่ออกจากตู้เป็นการฆ่าเชื้อโรคในตู้เกิดลูกไก่

          15. ล้างถาดใส่ไข่ที่ใช้สำหรับวางไข่ฟักอายุ 1-18 วัน ทุกๆ สัปดาห์ก่อนนำไปใส่ไข่ฟักพร้อมทั้งทำความสะอาด กวาดฝุ่นบนหลังตู้ไม่ให้มีใยแมงมุมและวัสดุอื่นๆ อุดตันช่องอากาศออก ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่บนหลังตู้ฟักทุกๆ ตุ้ให้ทำความสะอาดทุกๆ เดือนๆ ละ 1 ครั้ง การปิดตู้ทำความสะอาดเดือนละ 1-2 ครั้ง จะไม่มีผลกระทบต่อการฟักไข่ ดังนั้น ทุกๆ ครั้ง ที่ทำความสะอาดภายในตู้ฟักจึงสมควรปิดเครื่องก่อนป้องกันอันตรายที่อาจจะ เกิดขึ้นจากไฟช๊อตและพัดลมตี